เคล็ดลับจำคันจิ

เคล็ดลับจำคันจิ

- in Japan
7028

บทความโดย “ครูพี่วิทย์” อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น OJSAT

✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨

ทีเดียวรู้เรื่อง !!! เมื่อรู้สึกว่า โอ๊ยยยย จะจำคันจิอย่างไรให้ได้ผลดีเนี่ย? หนูๆตามมาอ่านบทความนี้เลยครับ !!!

คำเตือน…! บทความมันเกิน 7 บรรทัดนะ แต่ถ้าอ่านจบ หนูอาจจะเป็นคนใหม่ไปเลยก็ได้!

จะว่าไปตอนเรียนแรกๆ อักษรคันจิมันก็สวยดีแหละ แต่พอเรียนไปเรื่อยๆ มันก็มากขึ้นเรื่อยๆ บางคนจำๆไปก็ได้หน้าลืมหลัง กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ปวดหัว กวนใจตลอดเวลาตอนเรียนภาษาญี่ปุ่นไปซะฉิบ…

คันจิจึงกลายเป็นยาดำหม้อใหญ่สำหรับนักเรียนไทยเป็นอย่างมาก (แต่สำหรับนักเรียนคนจีน หรือ ไต้หวัน คันจิก็กลายเป็นขนมหวานไป เพราะเขาใช้อักษรคันจิกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้วอ่า)

สิ่งที่นักเรียนทำกันเป็นประจำคือ การจำไปด้วยเขียนไปด้วย ทั้งเขียนลงกระดาษและเขียนบนอากาศ ทำแล้วทำอีก…แต่หลายๆคนก็ยังจำคันจิกันไม่ได้

ในเมื่อพยายามแล้วมันจำไม่ค่อยได้ แล้วเราจะคัดและจะจำคันจิกันไปเพื่อ? พอจำก็ไม่ได้ ได้ตัวใหม่ก็ลืมตัวเก่า พาลจะทำให้นักเรียนไม่อยากเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงๆที่อุดมไปด้วยคันจิกันไปอีกเนอะ

งั้นตามอาจารย์มาครับ อาจารย์จะเสนอวิธีการจำคันจิที่ได้ผลชะงัด แต่ต้องจัดหนักจัดเต็มกันหน่อยนะ

วิธีการจำคันจิที่ได้ผลชะงัด

วิธีนั้นก็คือ การเขียนหรือคัดครั้งเดียว และจำครั้งเดียว จบ !!! อ๋าววววววว??? ไหงเป็นงั้นล่ะ??

ก็คัดคันจิกี่ครั้งๆ ก็ยังจำไม่ได้ไม่ใช่เหรอ? งั้นก็แสดงว่าแม้ว่าจะเขียนกี่ครั้งๆซ้ำๆกันหลายรอบ หรือจะจำนวนเยอะครั้ง แบบที่ทำมา ก็ยังจำไม่ค่อยได้น่ะสิครับ

ง่ายๆเลย ลองนึกๆดูสิครับ ว่าตัวคันจิที่นักเรียนคัดเป็นสิบๆหรือร้อยๆรอบเมื่อเดือน สองเดือนที่แล้ว ตอนนี้ยังจำได้ครบอยู่หรือเปล่า? (ถ้าจำได้ครบ ก็เขียน Comment ด้านล่าง โพสต์ในเพจ ด้วยนะครับ แล้วอาจารย์จะเขียนชมเชยนะคร้าบบบบ)

แสดงว่าการจำคันจิสำหรับนักเรียนบางคนมันไม่เกี่ยวกับจำนวนการคัดคันจิแล้วล่ะ ว่ามันมากหรือน้อยครับ

งั้นไม่ต้องคัดซ้ำ! แต่ต้องเขียนและต้องจำให้ได้ในครั้งเดียวกันไปเลยครับ !!! ใช่ครับ ครั้งเดียว ต้องจบ!

เคล็ดลับจำคันจิ

เคล็ดลับสำหรับวิธีนี้ คือ เราต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ตัวคันจิที่เราจะจำครับ

ตัวอย่าง 紹介 (しょうかい) แปลว่า แนะนำ กับคำว่า 招待 (しょうたい) แปลว่า เชิญ

มีคันจิที่อ่านเหมือนกัน คือคำว่า しょう

紹介

しょうかい
แนะนำ

招待

しょうたい
เชิญ

ให้เรา “คิด” และจำว่า 紹介 (しょうかい) แปลว่า แนะนำ

ต่อไป ให้เรา “วิเคราะห์ แยกแยะ” อักษรคันจิ 紹 (しょう) ตัวนี้ มีองค์ประกอบ คือ 糸 (いと = เส้นด้าย) ตัวอักษร 刀 และตัวอักษร 口 มาประกอบกัน

糸 + 刀 + 口 = 紹

เส้นด้ายก็คล้ายๆกับเส้นสาย ก็นำไปเชื่อมโยงได้กับคำแปลที่ว่า แนะนำ นั่นเอง

เอาล่ะ! คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้แล้วนะ! ต่อไปก็คือ จำโดยการเขียนแค่ครั้งเดียวนะครับ! ให้เขียนคันจิ しょう ในคำว่า しょうかい ที่แปลว่า แนะนำ ครับ! ถ้าพร้อมแล้ว! เริ่มเลย!

เป็นอย่างไรบ้างครับ? หลายๆคนอาจจะรู้สึกได้เลยว่า เราจำได้แม่นและลึกกว่าเดิม และน่าจะลืมคำนี้ได้ยากเลย ใช่หรือไม่ครับ? (ถ้าใช่ ก็ Comment ด้านล่าง โพสต์ในเพจ เป็นกำลังใจให้อาจารย์ด้วยนะคร้าบบบบบ)

มาฝึกคันจิกันอีกสักตัวนะครับ นั่นคือ คำว่า 招待 (しょうたい) ที่แปลว่า เชิญ

ก่อนอื่นให้เราคิดและจำว่า 招待 (しょうたい) แปลว่า เชิญ

อักษรคันจิ 招 (しょう) ตัวนี้ มีองค์ประกอบ คือ てへん ซึ่งเป็นองค์ประกอบในตัวคันจิที่หมายถึง มือ (て、手→扌) ตัวอักษร 刀 และตัวอักษร 口 มาประกอบกัน

扌 + 刀 + 口 = 招

て (手) ในองค์ประกอบของคันจิใช้ตัวนี้ครับ →扌 แปลว่า มือ มือที่เราใช้เขียนจดหมาย 手紙 (てがみ) มือที่เรา ผายมือเพื่อ “เชิญ” แขกเข้างานนั่นเอง

เอาล่ะ ! ให้หวนกลับไปคิด วิเคราะห์ แยกแยก เกี่ยวกับคันจิตัวนี้อีกครั้งนึงนะครับ แล้วลองเขียนคันจิตัว しょう ที่อยู่ในคำว่า しょうたい ที่แปลว่า เชิญ ดูสิครับ แต่อย่าลืมนะครับ ว่าอาจารย์ให้จำและเขียนแค่ “ครั้งเดียว” เท่านั้นนะครับ ถ้าพร้อมแล้วก็…… เริ่มเลยครับ !

เป็นอย่างไรบ้างครับ นักเรียน? ได้ผลไม่ได้ผลยังไงก็ลอง Comment ข้างล่าง โพสต์ในเพจ กันมาดูนะครับ แล้วพบกันใหม่ครับ สวัสดีครับ

★★★彡﴾ ครูพี่วิทย์ ﴿ ★★★

✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨ ✨

OJSAT เรียนสนุก นำไปใช้ได้จริง

สนใจเรียนภาษาญี่ปุ่น คลิกอ่านรายละเอียดเลย! 👇👇👇


Scan Me

สนใจสมัครเรียน หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โรงเรียนสอนภาษา สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์
สาขาพหลโยธิน 02-357-1241-5
สาขาจามจุรี 02-160-5073-4

You may also like

คอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่น เดือนกันยายน 2567

🌴คอร์สเร