รู้จริงเรื่องโชยุ

รู้จริงเรื่องโชยุ

- in Japan
798

สวัสดีเพื่อนๆ OJSAT ค่ะ วันนี้เรื่องที่อายจะมานำเสนอมาจากรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่ชื่อว่า「日本人の3割しか知らないこと くりぃむしちゅーのハナタカ!優越館」ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอข้อมูลที่มีเพียงแค่ 30% ของคนญี่ปุ่นเท่านั้นที่รู้ อายจะขอนำเสนอเนื้อหาจากรายการนี้ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 11 มีนาคมมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน

ทุกคนคงรู้จักกันดีกับเครื่องปรุงอาหารที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของอาหารญี่ปุ่นมากมาย นั่นก็คือ โชยุ หรือ ซีอิ๊วญี่ปุ่น นั่นเอง แต่ก็มีหลายอย่างเกี่ยวกับโชยุที่แม้ว่าคนญี่ปุ่นเองก็ยังไม่รู้ มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. ส่วนผสมของโชยุ

醤油

(しょうゆ) (โชยุ)

大豆

(だいず)
(daizu)
ถั่วเหลือง

+ OO

+

(しお)
(shio)
เกลือ

+

(こうじ)
(kouji)
จุลินทรีย์

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าส่วนผสมหลักของโชยุคือถั่วเหลือง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าส่วนประกอบหลักอีกอย่างหนึ่งของโชยุซึ่งมีความสำคัญพอๆกับถั่วเหลือง นั่นก็คือ “ข้าวสาลี” หรือ 小麦 (こむぎ) (komugi) นั่นเอง ซึ่งข้าวสาลีจะถูกย่อยเป็นกลูโคสซึ่งจะสร้างความหวานและทำให้โชยุมีกลิ่นหอมมากขึ้น ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้อีก 2 อย่างสำหรับการทำโชยุนั่นก็คือเกลือและจุลินทรีย์

2. ชนิดและความแตกต่างของโชยุ

ชนิดของโชยุความแตกต่างของโชยุแต่ละชนิด
濃口醤油 ชนิดเข้มข้น
(こいくちしょうゆ)
(koi kuchi shouyu)
โชยุแบบเข้มข้นจะทำมาจากถั่วเหลือง
ซึ่งจะนำมาผสมกับข้าวสาลีที่คั่วและบดในปริมาณที่เท่ากัน
薄口醤油 ชนิดอ่อน
(うすくちしょうゆ)
(usu kuchi shouyu)
โชยุอ่อนนั้นจะหมายถึงกลิ่นของโชยุและสีที่อ่อนกว่าแบบเข้มข้น
再仕込み醤油 ชนิดหมัก 2 ครั้ง
(さいしこみしょうゆ)
(saishikomi shouyu)
โชยุที่หมัก 2 ครั้งจะมีความเข้มข้นมากจึงมักจะนิยมทานกับซาชิมิ
たまり醤油 ชนิดทามาริ
(tamari shouyu)
ชนิดทามาริคือโชยุที่มีส่วนผสมหลักเป็นถั่วเหลือง
(มีแป้งสาลีในปริมาณที่น้อยมากๆ)
白醤油 ชนิดขาว
(しろしょうゆ)
(shiro shouyu)
โชยุแบบขาวคือจะตรงข้ามกับทามาริ เพราะมีข้าวสาลีเป็นส่วนผสมหลัก
ไม่ใช่ถั่วเหลือง สีที่ได้ออกมาจึงขาวมากกว่าโชยุแบบเข้มข้น

https://www.tsutsu-uraura.jp/shopdetail/000000002003/

3. 生醤油 อ่านว่า なま หรือ き? แล้ว 生揚げ醤油 คืออะไร

คำว่า 生 (なま) ที่นอกจากจะอ่านว่า nama ซึ่งแปลว่า สด แล้วนั้น ยังสามารถอ่านว่า ki ได้อีกด้วย

生 (なま) 醤油 (しょうゆ)、生 (き) 醤油 (しょうゆ)、生揚げ (きあげ) 醤油 (しょうゆ) แตกต่างกันตรงกรรมวิธีการผลิต ซึ่งอายขอสรุปง่ายๆว่า 生 (き) 醤油 (しょうゆ) (ki shouyu) นั้นผ่านทั้งความร้อนและการกรอง ส่วน 生 (なま) 醤油 (しょうゆ) (nama shouyu) ไม่ได้ผ่านความร้อนแต่ผ่านการกรอง สุดท้ายคือ 生揚げ (きあげ) 醤油 (しょうゆ) (kiage shouyu) เป็นโชยุที่ไม่ได้ผ่านทั้งความร้อนและการกรอง ซึ่งที่พบเห็นได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปนั้น ส่วนมากจะเป็น 生(なま)醤油(しょうゆ) (nama shouyu) ค่ะ

https://zatsuneta.com/archives/005646.html

https://macaro-ni.jp/80072

นอกจากเรื่องโชยุแล้วยังมีอีกหลายเรื่องเลยที่คนญี่ปุ่นไม่รู้เกี่ยวกับของใกล้ตัว ครั้งหน้าจะเป็นอะไรนั้นอย่าลืมติดตามอ่านกันด้วยนะคะ 『日本人の3割しか知らないこと』を見たことあるよという方、コメントください。


สนใจสมัครเรียน หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โรงเรียนสอนภาษา สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาขาพหลโยธิน 📞 02-357-1241-5

สาขาจามจุรี 📞 02-160-5073-4

You may also like

คอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่น เดือนเมษายน 2567

🌴คอร์สเร